วันอาทิตย์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2559
FinalDetail2
กำเนิดเทียนพรรษา
ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู นับถือวัวเพราะถือว่า วัวเป็นพาหนะของพระอิศวร เมื่อวัวตาย จะเอาไขจากวัวมาทำเป็นน้ำมันเพื่อจุดบูชาพระผู้เป็นเจ้าที่ตนเคารพ แต่ชาวพุทธซึ่งนับถือศาสนาพุทธจะทำเทียนเพื่อจุดบูชาพระรัตนตรัย โดยการเอารังผึ้ง ร้างมาต้มเอาขี้ผึ้ง แล้วฟั่นเป็นเทียนเล่มเล็ก ๆ มีความยาวตามต้องการ เช่น ยาวเป็นคืบ หรือเป็น ศอกแล้วใช้จุดบูชาพระ
เทียนพรรษา เริ่มมีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล ชาวพุทธจะยึดถือเป็นประเพณีนำเทียนไป ถวายพระภิกษุในเทศกาลเข้าพรรษา เพื่อปรารถนาให้ตนเองเป็นผู้เฉลียวฉลาด มีไหวพริบ ประดุจ แสงสว่างของดวงเทียน
เทียนพรรษา คือ เทียนขนาดใหญ่และยาวเป็นพิเศษกว่าเทียนชนิดอื่น สำหรับจุดในโบสถ์ตั้งแต่วันเข้าพรรษาจนถึงวันออกพรรษา (พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525)
วิวัฒนาการเทียนพรรษา
การทำเทียนพรรษา มีวิวัฒนาการมาเป็นลำดับ จากการนำรังผึ้งมาต้มเอาขี้ผึ้งไปฟั่น เป็นเทียนนำไปถวายพระภิกษุ เอาเทียนเล่มเล็ก ๆ หลาย ๆ เล่ม มามัดรวมกันเป็นลำต้นคล้ายกับ ต้นกล้วย หรือลำไม้ไผ่ แล้วนำไปติดกับฐาน ซึ่งการมัดรวมกันแบบนี้เป็นสาเหตุหนึ่งที่นิยมเรียกว่า ต้นเทียน หรือต้นเทียนพรรษา
ต้นเทียนพรรษาประเภทแรก คือ "มัดรวมติดลาย" เป็นการเอาเทียนเล่มเล็ก ๆ มามัด รวมกันบนแกนไม้ไผ่ให้เป็นต้นเทียนขนาดใหญ่ แล้วตัดกระดาษเงิน กระดาษทองเป็นลายต่าง ๆ ติดประดับโดยรอบต้นเทียน ต่อมามีการคิดทำต้นเทียนเป็นต้นเดี่ยว เพื่อใช้จุดให้ได้นาน โดย การใช้ลำไม้ไผ่ที่ทะลุปล้องเป็นแบบหล่อ เมื่อหล่อเทียนเป็นต้นเสร็จแล้วจึงนำมาติดที่ฐาน และจัด ขบวนแห่เทียนไปถวายพระที่วัด
การตกแต่งต้นเทียน เริ่มมีขึ้นโดยภูมิปัญญาชาวบ้าน ใช้ขี้ผึ้งลนไฟหรือตากแดดให้อ่อน แล้วปั้นเป็นรูปดอกลำดวนติดต้นเทียน หรือเอาขี้ผึ้งไปต้มให้ละลาย แล้วใช้ผลมะละกอ หรือ ผล ฟักทองนำมาแกะเป็นลวดลาย ใช้ไม้เสียบนำไปจุ่มในน้ำขี้ผึ้ง แล้วนำไปจุ่มในน้ำเย็น แกะขี้ผึ้งออก จากแบบ ตัดและตกแต่งให้สวยงามนำไปติดที่ต้นเทียน
พ.ศ. 2482 มีช่างทองชื่อ นายโพธิ์ ส่งศรี เริ่มทำลายไทยไปประดับบนเทียน โดยมี การทำแบบพิมพ์ลงในแผ่นปูนซีเมนต์ซึ่งถือว่าเป็นแบบพิมพ์ หรือแม่พิมพ์ แล้วเอาขี้ผึ้งที่อ่อนตัว ไปกดลงบนแม่พิมพ์จะได้ขี้ผึ้งเป็นลายไทย นำไปติดกับลำต้นเทียน
ต่อมา นายสวน คูณผล ได้คิดทำลายให้นูนและสลับสี จนเห็นได้ชัด เมื่อส่งเทียนเข้า ประกวดจึงได้รับรางวัลชนะเลิศ และในปี พ.ศ. 2497 นายประดับ ก้อนแก้ว คิดประดิษฐ์ทำหุ่นเป็น เรื่องราวพุทธประวัติ และเอาลวดลายขี้ผึ้งติดเข้าไปที่หุ่น ทำให้มีลักษณะแปลกออกไป จึงทำให้ เทียนพรรษาได้รับรางวัลชนะเลิศ และชนะเลิศมาทุกปี ในเทียนพรรษาประเภทติดพิมพ์
ปี พ.ศ. 2502 มีช่างแกะสลักลงในเทียนพรรษาคนแรก คือ นายคำหมา แสงงาม และ คณะกรรมการตัดสินให้ชนะการประกวด ทำให้เกิดการประท้วงคณะกรรมการตัดสิน ทำให้ในปี ต่อๆ มามีการแยกประเภทต้นเทียนออกเป็น 2 ประเภทชัดเจนคือ
1. ประเภทติดพิมพ์ (ตามแบบเดิม)
2. ประเภทแกะสลัก
การทำเทียนพรรษามีวิวัฒนาการเรื่อยมาไม่หยุดนิ่ง ในปี พ.ศ. 2511 ผู้คนได้พบเห็น ต้นเทียนพรรษาขนาดใหญ่และสูงขึ้น มีการแกะสลักลวดลายในส่วนลำต้นอย่างวิจิตรพิสดาร ใน ส่วนฐานก็มีการสร้างหุ่นแสดงเรื่องราวทางศาสนา และความเป็นไปในสังคมขณะนั้น กลายเป็น ประติมากรรมเทียนพรรษาที่ยิ่งใหญ่ ซึ่งช่างผู้ริเริ่มในการทำต้นเทียนยุคหลังคือ นายอุตส่าห์ และ นายสมัย จันทรวิจิตร สองพี่น้อง นับเป็นงานสร้างสรรค์ทางศิลปะอันเกิดจากภูมิปัญญาชาวบ้าน อย่างแท้จริง
งานประเพณีแห่เทียนพรรษา
ประเพณีแห่งเทียนพรรษานั้น เนื่องจากสมัยก่อนพระภิกษุสงฆ์ไม่มีไฟฟ้าใช้ ชาวบ้านจึงหล่อเทียนต้นใหญ่ขึ้น เพื่อถวายพระภิกษุสงฆ์จุดให้แสงสว่างในการปฏิบัติกิจวัตรต่างๆ เป็นพุทธบูชาตลอดเวลา 3 เดือน การนำเทียนไปถวายชาวบ้านมักจัดขบวนแห่กันอย่างเอิกเกริกสนุกสนานและปฏิบัติสืบทอดกันมาจนกลายเป็นประเพณี
งานประเพณีแห่เทียนพรรษา เ
ศิลปะการฟ้อนรำที่นิยมนำมาประกอบการแสดงในขบวนแห่ คือ การรำเซิ้งต่างๆ เช่น เซิ้งกระลอ เซิ้งกระติบ เซิ้งสวิง เซิ้งแหย่ไข่มดแดง ซึ่งดัดแปลงมาจากการประกอบอาชีพในวิถีชีวิต ประจำวันทั้งสิ้น
งานแห่เทียนพรรษา เป็นงานที่ทำให้คนวัยรุ่น หนุ่มสาว ได้มีโอกาสได้ใกล้ชิดและสัมผัส กับศิลปวัฒนธรรมอย่างใกล้ชิด นับตั้งแต่การเข้าเป็นอาสาสมัครช่วยเหลือ เป็นลูกมือช่างของทางวัด ในการแกะสลักทำลวดลายต้นเทียน ค้นคว้าหาวิธีการทำเพียรพรรษาให้วิจิตรพิศดาร งดงาม แต่ประหยัดการเข้าร่วมในขบวนแห่จะเป็นการผสมผสานระหว่างคนรุ่นเก่ากับคนรุ่นใหม่ เช่น การเล่นดนตรีพื้นบ้าน โปงลาง หรือเป่าแคน จะมีทั้งผู้สูงอายุและคนหนุ่มสาว ส่วนขบวนฟ้อนรำ จะใช้เด็กๆ รุ่นเยาว์ ถึงวัยหนุ่มสาวมากกว่าคนสูงวัย ซึ่งคาดหวังได้ว่า ประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น จะสืบทอดต่อไปอีกยาวไกล
ประวัติความเป็นมาของการแห่เทียนพรรษา
ในสมัยพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงสรรพสิทธิ์ประสงค์ ซึ่งเป็นผู้สำเร็จราชการเมืองอุบล ครั้งหนึ่งที่เมืองอุบลมีการแห่บั้งไฟที่วัดกลาง มีประชาชนไปดูเป็นจำนวนมาก ครั้งนั้นในขบวนแห่บั้งไปได้เกิดมีการทะเลาะวิวาทและถึงแก่ความตาย เสด็จในกรมได้พิจารณาถึงความสูญเสียอันยิ่งใหญ่ จึงสั่งการให้เลิกแห่บั้งไฟและเปลี่ยนเป็นการแห่เทียนแทน
แต่การแห่เทียนพรรษาในสมัยดั้งเดิมก็ไม่ได้จัดงานยิ่งใหญ่เช่นปัจจุบัน เป็นเพียงการที่ชาวบ้านร่วมกันบริจาคเทียน แล้วนำมาติดกับไม้ไผ่และนำต้นเทียนไปผูกติดกับปี๊บน้ำมันก๊าดอีกที ฐานของต้นเทียนทำจากไม้ที่ตีเป็นแผ่นเรียบ หรือทำสูงเป็นชั้นๆ ติดกระดาษแล้วนำไปถวายวัด ส่วนพาหนะที่นิยมใช้ในสมัยนั้นก็จะเป็นเกวียน หรือล้อเลื่อนที่ใช้วัวหรือคนลากจูง แต่ในขบวนแห่เทียนของชาวบ้านก็จะมีฆ้อง กลอง กรับ และการฟ้อนรำที่สนุกสนาน
ต่อมาการทำต้นเทียนได้พัฒนาขึ้น เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2480 คือเป็นการหล่อเทียนออกจากแม่พิมพ์ที่มีลวดลายง่ายๆ หลายแบบ เช่น ตาอ้อย บัวคว่ำ กระจังก้ามปู และอื่นๆ แล้วนำไปติดที่ต้นเทียน ต่อมาก็มีบุคคลนำวิธีการดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ รวมไปถึงการประดับประดาต้นเทียนด้วยลวดลายต่างๆ จนถึงขั้นจัดการประกวดและมีรางวัลสำหรับผู้ชนะเลิศอีกด้วย
ในช่วงปี พ.ศ. 2494 การทำเทียนและพิธีแห่เทียนพรรษาเริ่มได้ถูกเล็งเห็นความสำคัญและได้รับความสนใจจากประชาชนมากขึ้น ทางจังหวัดจึงได้สนับสนุนให้งานเข้าพรรษาเป็นงานประจำปี แต่ในสมัยนั้นต้นเทียนก็ยังเป็นเพียงการมัดเทียนรวมกัน แล้วติดกระดาษ และการพิมพ์ลายติดลำ
การจัดทำและการแห่เทียนพรรษาได้ถูกส่งเสริมพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาเรื่อยๆ จากหลายบุคคล หลายฝ่าย จนถึงปี พ.ศ. 2520 และนับจากนั้นเป็นต้นมา จังหวัดอุบลราชธานีได้จัดงานสัปดาห์แห่เทียนพรรษา ให้เป็นงานยิ่งใหญ่ มีการประกวดต่างๆ เช่น ขบวนแห่ นางฟ้า โดยมีการประชาสัมพันธ์อย่างกว้างขวาง เป็นเหตุให้มีผู้คนทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติมาเที่ยวชมงานเป็นจำนวนมาก
กิจกรรมที่สำคัญในประเพณีแห่เทียนพรรษา
1. เยือนชุมชน ชมวิถีวัฒนธรรมการตกแต่งเทียน
ในช่วงการเตรียมตัวตกแต่งต้นเทียน จะอยู่ในช่วง 2-3 วัน ก่อนวันแห่ ผู้มาเยี่ยมชมจะได้มีโอกาสศึกษาวิธีทำต้นเทียนอันเป็นภูมิปัญญาของชาวบ้าน และยังจะได้สัมผัสบรรยากาศการร่วมแรง ร่วมใจ ตลอดจนการทำกิจกรรมทางพุทธศาสนา
2. เวียนเทียนวันอาสาฬหบูชาที่วัดงามเมืองอุบล
การเวียนเทียนจะจัดขึ้นในช่วงค่ำของ
ตามวัดต่างๆ ถือเป็นกิจกรรมสำคัญทางพุทธศาสนา
และยังเป็นการแสดงถึงเอกลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมพื้นเมือง อันงดงามตามวัดต่างๆ
3. กิจกรรมแห่เทียนพรรษา
จะจัดขึ้นในวันเข้าพรรษา ตั้งแต่เวลา 08.00 น. เป็นต้นไป โดยจะมีระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร ในขบวนจะประกอบไปด้วย ขบวนเทียนหลวงพระราชทาน ขบวนต้นเทียนของวัดต่างๆ และการละเล่น การฟ้อนรำ การบรรเลงดนตรีพื้นเมือง และจะมีการจัดเตรียมที่นั่งชมไว้บริการ บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัด
วันเสาร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2559
ความประทับใจในมหาวิทยาลัย
ประทับใจในความร่มรื่นของมหาวิทยาลัย
ม ห า วิ ท ยา ลั ย รา ช ภั ฏ ร้ อ ย เ อ็ ด
“มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ดเป็นสถานศึกษาที่มีคุณภาพ ภายใต้ร่มธรรม ร่มรื่น ร่มเย็น”
ที่อยู่: 113 หมู่ ที่ 12 โพนทอง, ถนน โยธาธิการ ร้อยเอ็ด มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด ตำบล เกาะแก้ว อำเภอ เสลภูมิ ร้อยเอ็ด 45120
โทรศัพท์:043 556 001
เวลาทำการ:
วันนี้เปิดทำการ · 8:30–16:30
มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ดนั้น มีบรรยากาศที่ร่มรื่น เย็นสบาย ล้อมรอบไปด้วยต้นไม้มากมาย ถือว่าเป็นมหาลัยธรรมชาติเลยสำหรับผม
เรามาชมภาพความประทับใจในบรรยากาศของมหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ดกันเลยครับ
บริเวณตึกเจ็ดชั้นของมหาวิทยาลัยนั้นล่มรื่นมากเหมาแก่การนั่งพักระหว่างรอคาบเรียน หรืออ่านหนังสืออย่างมาก
วันอังคารที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2559
วิธีการเทเบียร์
วิธีการเทเบียร์
1. เตรียมแก้วให้ถูก
ย้ำว่าต้องเป็นแก้วเบียร์ที่ “สะอาด” จริงๆเพื่อไม่ให้มีอะไรขัดขวางการเกิดฟอง (Nucleation) และทำให้รสชาติเบียร์เพี้ยน และแก้วไม่ต้องแช่แข็งหรือเย็นมาก่อนเพราะมันจะทำให้เกิดฟองมากเกินไป โดยทั่วไปแล้วมักนิยมแก้วประเภท Pilsner glass standard
2. เอียงแก้ว 45 องศา แล้วรินช้าๆไปจนถึงครึ่งแก้ว
เหตุผลที่ต้องเอียงก็คือเพื่อไม่ให้มี Oxygen อัดเข้าไปในก้นแก้วมากเกินไปเพื่อไม่ให้เกิดฟองในช่วงแรกของการริน
3. เอียงแก้ว 90 องศา แล้วรินไปเรื่อยๆจนจบ
โดยรินไปตรงกลางของวงกลมในแก้วเพื่อให้เกิดฟองเบียร์ที่ “ด้านบน” (Head) อย่างสวยงามและหอมหวล
4. ดื่มด่ำกับเบียร์ที่สมบูรณ์แบบ
ทั้งนี้คุณควรให้มีฟองเบียร์ประมาณ 0.5 – 1.5 นิ้ว หากคุณมีฟองหนาเกินไป นั่นหมายถึงคุณรินเร็วเกิน
ประโยชน์ของเบียร์
ประโยชน์ของเบียร์
เบียร์มีผลดีต่อสุขภาพไต อาจฟังดูไม่น่าเชื่อ แต่จากการวิจัยในประเทศฟินแลนด์พบว่า การดื่มเบียร์เป็นประจำสามารถลดการเกิดนิ่วในไตได้ถึง 40% เพราะการดื่มเบียร์นั้นจะช่วยร่างกายมีการขับปัสสาวะมากกว่าการดื่มน้ำธรรมดา
ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวาน เป็นอีกหนึ่งโรคยอดนิยมที่เป็นกันมากในปัจจุบัน และจากการศึกษาเกี่ยวกับประโยชน์ของเบียร์ในปี 2011 พบว่าผู้ชายที่ดื่มเบียร์วันละ 2 แก้ว จะมีโอกาสเป็นโรคโรคเบาหวานน้อยกว่าคนที่ดื่มเบียร์แก้วเดียว
ลดความเสี่ยงเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง อย่างที่เราทราบๆ กันนั่นแหละ ว่าแอลกอฮอล์มีผลต่อความดันเลือด ฉะนั้นการดื่มในปริมาณที่พอเหมาะกับร่างกายจึงสามารถช่วยป้องกันการอุดตันของไขมันในเลือดได้เป็นอย่างดี แถมยังทำให้การไหลเวียนของเลือดไปยังส่วนต่างๆ
ช่วยให้กระดูกแข็งแรง ถึงจะมีหลายๆ งานวิจัยบอกว่าเบียร์นั้นมีผลทำให้กระดูกพรุน แต่ก็มีอีกหลายงานวิจัยที่อธิบายถึงปริมาณซิลิกอนในเบียร์นั้น สูงพอจะช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับกระดูกได้ และยังมีการทดลองโดยให้คนนึงดื่มเบียร์ในปริมาณจำกัดทุกวัน
ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง จากการศึกษาล่าสุดในโปรตุเกสพบว่า หากคุณหมักสเต็กด้วยเบียร์ มันจะช่วยกำจัดสารก่อมะเร็งในเนื้อได้เกือบ 70% รวมทั้งยังช่วยลดการเกิดสารก่อมะเร็งที่จะตามมาในขั้นตอนการปรุงด้วย
ทำให้สมองปลอดโปร่งและลดความเสี่ยงจากโรคอัลไซเมอร์ อาจไม่น่าเชื่อ แต่การดื่มเบียร์วันละ 1 แก้ว นอกจากจะทำให้สมองของคุณปลอดโปร่งและทำงานได้อย่างลื่นไหลแล้ว ยังช่วยลดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคความจำเสื่อมได้ถึง
มีคุณค่าทางอาหารสูง นี่ก็ฟังดูไม่น่าเชื่อแต่จากการวิเคราะห์สารอาหารในเบียร์แล้ว พบว่าในเบียร์เกือบทุกประเภทมีปริมาณใยอาหารสูงถึง 12 ออนซ์ และยังอุดมไปด้วย วิตามินบี โฟเลต วิตามินบี 6 และ วิตามินบี 12
อายุยืนขึ้น จากการศึกษาโดยกระทรวงเกษตรของสหรัฐอเมริกาพบว่า การดื่มเบียร์ในระดับที่เหมาะสม จะช่วยให้ผู้ดื่มมีอายุยืนขึ้น ส่วนเหตุผลสนับสนุนก็ดูจากข้อที่ผ่านๆ มาประกอบได้เลยนะแจ๊ะ
วันศุกร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2559
ความรู้เกี่ยวกับเรื่องเบียร์ Beer
ความรู้เกี่ยวกับเรื่องเบียร์ Beer
1. ประเภทของเบียร์
เบียร์เป็นคำเรียกที่รู้จักกันดี เป็นเครื่องดื่มที่ทำจากการหมักข้าวบาร์เลย์กรรมวิธีพิเศษที่เรียกว่า Malting จึงเรียกว่า Malt Grain และปรุงแต่งกลิ่นและรสชาติด้วยฮอพ ( hops ) เบียร์เป็นคำรวมๆ ซึ่งหมายถึงมีหลายชนิดและมีชื่อเรียกต่างๆกัน
เครื่องดื่มประเภทเบียร์จะแบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ ลาเกอร์เบียร์ ( Lager beer) และเอล ( ales ) เบียร์ทั้งสองชนิดจะใช้ยีสต์ที่ได้คัดเลือกไว้แตกต่างกัน และมีวิธีการหมักที่ต่างกันด้วย ลาเกอร์เบียร์จะหมักโดยยีสต์ที่ก้นถังที่มีอุณหภูมิต่ำ ซึ่งเรียกกระบวนการหมักนี้ว่า Bottom fermentation ส่วนเอล ใช้วิธีการหมักโดยยีสต์บริเวณด้านบนในถังที่มอุณหภูมิอบอุ่นปานกลาง
จึงรียกกระบวนการหมักนี้ว่า Top fermentation ความแตกต่างระหว่างลาเกอร์เบียร์และเอล นอกากวิธีการหมักที่ต่างกันแล้วการเก็บก็ต่างกัน
ลาเกอร์เบียร์จะเก็บไว้หลายสัปดาห์ก่อนการบรรจุขวดออกจำหน่าย ส่วนเอลจะเก็บไว้เพียง 2-3 วันเท่านั้นก่อนบรรจุขวด และดีกรีของแอลกอฮอล์ในลาเกอร์เบียร์จะต่ำกว่าเอล เราจะพบว่าดีกรีแอลกอฮอล์นั้นจะไม่ปรากฏฉลากขวดหรือกระป๋องเนื่องจากกฏหมายมิได้ระบุไว้ การวัดปริมาณแอลกอฮอล์ในเบียร์มี 2 ชนิด คือ อาจจะวัดเป็นจำนวนเปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก หรือจำนวนเปอร์เซ็นต์โดยปริมาตร
เบียร์เป็นคำเรียกที่รู้จักกันดี เป็นเครื่องดื่มที่ทำจากการหมักข้าวบาร์เลย์กรรมวิธีพิเศษที่เรียกว่า Malting จึงเรียกว่า Malt Grain และปรุงแต่งกลิ่นและรสชาติด้วยฮอพ ( hops ) เบียร์เป็นคำรวมๆ ซึ่งหมายถึงมีหลายชนิดและมีชื่อเรียกต่างๆกัน
เครื่องดื่มประเภทเบียร์จะแบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ ลาเกอร์เบียร์ ( Lager beer) และเอล ( ales ) เบียร์ทั้งสองชนิดจะใช้ยีสต์ที่ได้คัดเลือกไว้แตกต่างกัน และมีวิธีการหมักที่ต่างกันด้วย ลาเกอร์เบียร์จะหมักโดยยีสต์ที่ก้นถังที่มีอุณหภูมิต่ำ ซึ่งเรียกกระบวนการหมักนี้ว่า Bottom fermentation ส่วนเอล ใช้วิธีการหมักโดยยีสต์บริเวณด้านบนในถังที่มอุณหภูมิอบอุ่นปานกลาง
จึงรียกกระบวนการหมักนี้ว่า Top fermentation ความแตกต่างระหว่างลาเกอร์เบียร์และเอล นอกากวิธีการหมักที่ต่างกันแล้วการเก็บก็ต่างกัน
ลาเกอร์เบียร์จะเก็บไว้หลายสัปดาห์ก่อนการบรรจุขวดออกจำหน่าย ส่วนเอลจะเก็บไว้เพียง 2-3 วันเท่านั้นก่อนบรรจุขวด และดีกรีของแอลกอฮอล์ในลาเกอร์เบียร์จะต่ำกว่าเอล เราจะพบว่าดีกรีแอลกอฮอล์นั้นจะไม่ปรากฏฉลากขวดหรือกระป๋องเนื่องจากกฏหมายมิได้ระบุไว้ การวัดปริมาณแอลกอฮอล์ในเบียร์มี 2 ชนิด คือ อาจจะวัดเป็นจำนวนเปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก หรือจำนวนเปอร์เซ็นต์โดยปริมาตร
2.1 ลาเกอร์เบียร์ ( Lager beer )
มีหลายชนิดหลายยี่ห้อจนนับไม่ได้ ทั้งนี้เพราะในแต่ละประเทศ มีการผลิตเบียร์กันหลายยี่ห้อ ซึ่งมีกลิ่นและรสชาติต่างกันไป แต่ที่นิยมกันมากคือชนิดที่เรียกว่า Pilsner style ส่วนแบบอื่นๆนิยมน้อยมากคือ Light beer, Malt liquors , Bock beers, Steam beer
มีหลายชนิดหลายยี่ห้อจนนับไม่ได้ ทั้งนี้เพราะในแต่ละประเทศ มีการผลิตเบียร์กันหลายยี่ห้อ ซึ่งมีกลิ่นและรสชาติต่างกันไป แต่ที่นิยมกันมากคือชนิดที่เรียกว่า Pilsner style ส่วนแบบอื่นๆนิยมน้อยมากคือ Light beer, Malt liquors , Bock beers, Steam beer
1 ) Pilsner style beers
คำว่า Pilsner เป็นรูปแบบของเบียร์ที่มีลักษณะของรสชาติเฉพาะคือรสชาติอ่อนๆ รสหวานน้อย สีเหลืองอำพัน ดื่มแล้วสดชื่น ปริมาณแอลกอฮอล์จะแตกต่างกันไปตามกฏหมายของประเทศและรัฐนั้นๆส่วนใหญ่ระหว่าง 3.2 -4.5% โดยน้ำหนัก 2 ) Light style beer
แตกต่างจาก Pilsner style เนื่องจากมีแอลกอฮอล์ต่ำกว่า มีแคลอรีและคาร์โบไฮเดรตน้อย ดื่มแล้วไม่อ้วน มีอัตราส่วนน้ำหนักมาก เป็นที่นิยมกันมากสำหรับผู้ที่ควบคุมน้ำหนักแต่ราคาสูงกว่าเบียร์อื่น เนื่องจากมีกรรมวิธีผลิตที่ยุ่งยากกว่า
3)Malt liquors style beer
เบียร์ที่มีแอลกอฮอล์สูงกว่า Pilsner เล็กน้อยคือประมาณ 5.5 -6 % โดยน้ำหนัก เหมาะสำหรับผู้ที่นิยมเบียร์ที่มีแอลกอฮอล์สูง เบียร์ชนิดนี้ผลิตไม่มากนักเพราะคนนิยมไม่มาก มีดีกรีประมาณ 5.5-6 % โดยน้ำหนัก4 ) Bock style beer
เบียร์ชนิดนี้มีสีดำ กลิ่นและรสชาติเข้มข้น จากกรรมวิธีพิเศษโดยการนำ malt grain มาอบให้เกือบไหม้ ปรุงแต่งรสและสีด้วยคาราเมล ( caramel ) นิยมให้มีแอลกอฮอล์ประมาณ 6 % โดยน้ำหนัก
คำว่า Pilsner เป็นรูปแบบของเบียร์ที่มีลักษณะของรสชาติเฉพาะคือรสชาติอ่อนๆ รสหวานน้อย สีเหลืองอำพัน ดื่มแล้วสดชื่น ปริมาณแอลกอฮอล์จะแตกต่างกันไปตามกฏหมายของประเทศและรัฐนั้นๆส่วนใหญ่ระหว่าง 3.2 -4.5% โดยน้ำหนัก 2 ) Light style beer
แตกต่างจาก Pilsner style เนื่องจากมีแอลกอฮอล์ต่ำกว่า มีแคลอรีและคาร์โบไฮเดรตน้อย ดื่มแล้วไม่อ้วน มีอัตราส่วนน้ำหนักมาก เป็นที่นิยมกันมากสำหรับผู้ที่ควบคุมน้ำหนักแต่ราคาสูงกว่าเบียร์อื่น เนื่องจากมีกรรมวิธีผลิตที่ยุ่งยากกว่า
3)Malt liquors style beer
เบียร์ที่มีแอลกอฮอล์สูงกว่า Pilsner เล็กน้อยคือประมาณ 5.5 -6 % โดยน้ำหนัก เหมาะสำหรับผู้ที่นิยมเบียร์ที่มีแอลกอฮอล์สูง เบียร์ชนิดนี้ผลิตไม่มากนักเพราะคนนิยมไม่มาก มีดีกรีประมาณ 5.5-6 % โดยน้ำหนัก4 ) Bock style beer
เบียร์ชนิดนี้มีสีดำ กลิ่นและรสชาติเข้มข้น จากกรรมวิธีพิเศษโดยการนำ malt grain มาอบให้เกือบไหม้ ปรุงแต่งรสและสีด้วยคาราเมล ( caramel ) นิยมให้มีแอลกอฮอล์ประมาณ 6 % โดยน้ำหนัก
5 )Steam style beer
เป็นเบียร์ที่ผลิตพิเศษโดยการหมักสองแบบผสมผสานคือ การหมักที่ก้นถังและหมักด้านบนถัง มีแอลกอฮอล์ประมาณ 5 %โดยปริมาตร
เป็นเบียร์ที่ผลิตพิเศษโดยการหมักสองแบบผสมผสานคือ การหมักที่ก้นถังและหมักด้านบนถัง มีแอลกอฮอล์ประมาณ 5 %โดยปริมาตร
2.2 เอล ( Ales)
เอลเป็นเบียร์ที่มีสีเข้ม รสชาติเข้มข้น รสขมกว่าและดีกรีสูงกว่าลาเกอร์เบียร์โดยทั่วไปคือมีดีกรีประมาณ 5.5 -6.5 %
โดยน้ำหนัก ที่นิยมมี2ชนิดคือ
เอลเป็นเบียร์ที่มีสีเข้ม รสชาติเข้มข้น รสขมกว่าและดีกรีสูงกว่าลาเกอร์เบียร์โดยทั่วไปคือมีดีกรีประมาณ 5.5 -6.5 %
โดยน้ำหนัก ที่นิยมมี2ชนิดคือ
1) Porter
เบียร์สีดำ รสขมอมหวาน ปัจจุบันนิยมน้อยมาก แต่บางประเทศยังผลิตอยู่เช่นประเทศสหรัฐอเมริกา
2) Stout
ได้รับความนิยมมากกว่า Porter เพราะมีรสชาติดีกว่า ลักษณะเด่นของ Stout คือ มีกลิ่นและรสชาติมาก รสหวานมาก ขมเล็กน้อย Guinness stout ของประเทศไอร์แลนด์ ปัจจุบันผลิตในประเทศอื่นๆด้วย นิยมนำไปผสมเป็นค็อกเทลที่มีชื่อเสียง โดยผสมกับแชมเปญในอัตราส่วนอย่างละครี่งเรียกว่า Black Velvet
3. การผลิตเบียร์
แม้ว่าเบียร์มีหลายชนิดแต่กรรมวิธีการผลิตคล้ายคลึงกันความแคกต่างขึ้นอยู่กับส่วนผสมและวิธีการหมักที่แตกต่างกัน
ส่วนผสม(ingredrient)ของเบียร์มี 4 ชนิด
-ข้าวบาร์เลย์ที่นำมาเพาะและอบให้แห้ง (barley malt )
-น้ำ
-ดอกฮอพ (hops )
- ยีสต์ ( yeast )
1. ข้าวบาร์เลย์ที่นำมาเพาะและอบให้แห้ง เบียร์บางชนิดอาจใช้ข้าวชนิดอื่นผสมไปด้วยก็มี ข้าวที่นำมาหมักจะเปลี่ยนเป็นน้ำตาลและแอลกอฮอล์ รวมทั้งเกิดแก๊ส co2 ทำให้มีสี กลิ่น รสชาติ ใหม่ขึ้นมา ฉะนั้นในเบียร์จึงมีคุณค่าของอาหาร คือ มีคาร์โบไฮเดรตโปรตีน วิตามินต่างๆ
2.น้ำเป็นส่วนประกอบสำคัญประมาณ 90% ขึ้นไป มีเกลือแร่ต่างๆด้วย จึงทำให้เบียร์มีรสชาติต่างกันไป
3. ดอกฮอพ เป็นดอกไม้เลื้อยสีเขียวที่ให้เกิดกลิ่นรสขม และช่วยย่อยอาหารยีสต์ เป็นอินทรียสารที่เปลี่ยนแปลงเป็นน้ำตาลและในขณะเดียวกันก็ทำให้เกิดแอลกอฮอล์และแก๊ส co2 จึงเป็นผลให้ผู้ที่ดื่มมีอาการมึนเมา
3.2 ขั้นตอนการผลิตเบียร์มี 4 ขั้นตอน
1. การบดให้เป็นแป้ง (Mashing)
นำข้าวบาร์เลย์ที่เพาะและอบทำเป็นมอลต์แล้วมาบดให้ละเอียด นำไปใส่ถังและเติมน้ำลงไป ใช้ความร้อนต่ำๆ1-6 ชั่วโมงในขั้นตอนนี้จะเกิดการเปลี่ยนแป้งเป็นน้ำตาล และจะตกตะกอน จากนั้นจึงกรองเอาแต่ของเหลวที่เรียกว่า wort ออกไปอีกถังหนึ่ง
2.) ถังต้มเบียร์ (Brewing)
ของเหลวที่ได้นี้จะนำมาต้มกับดอกฮอพเพื่อสกัดลดขมออกมา การต้มนี้เพื่อเป็นการฆ่าและขณะเดียวกันจะทำให้เกิดธาตุที่ป้องกันการบูดเสีย เรียกว่า anticeptic element เมื่อต้มได้ที่แล้วจึงกรองเอาดอกฮอพออกและทิ้งของเหลวนั้นยให้เย็น ในขั้นตอนนี้การผลิตเบียร์จะใช้เทคนิคต่างกันไปคือ ลาเกอร์เบียร์จะทิ้งให้เย็นประมาณ 37%-49% เอลจะทิ้งให้เย็นประมาณ 50%-49% แล้วจึงนำไปหมักในถังต่อไป จึงทำให้ลดชาติของเบียร์ทั้งชนิดต่างกัน
3.)การหมัก (Fermenting)
คือการเติมยีสต์ไปเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงน้ำตาลให้กลายเป็นแอกอฮอล์ การหมักทำเป็นลาเกอร์เบียร์จะใช้ยีสต์ใส่บริเวณก้นถังเพื่อทำให้ยีสต์ทำปฏิกริยาจาดด้านล้างเรียกว่า bottom fermentation และใช้เวาล 2-3 วันเท่านั้น ในขณะเกิดการหมักจะเกิดแก๊ส มากมายจึงเก็บแก๊สนี้ไว้เพื่อเติมลงในขวดในขั้นตอนสุดท้าย
แม้ว่าเบียร์มีหลายชนิดแต่กรรมวิธีการผลิตคล้ายคลึงกันความแคกต่างขึ้นอยู่กับส่วนผสมและวิธีการหมักที่แตกต่างกัน
ส่วนผสม(ingredrient)ของเบียร์มี 4 ชนิด
-ข้าวบาร์เลย์ที่นำมาเพาะและอบให้แห้ง (barley malt )
-น้ำ
-ดอกฮอพ (hops )
- ยีสต์ ( yeast )
1. ข้าวบาร์เลย์ที่นำมาเพาะและอบให้แห้ง เบียร์บางชนิดอาจใช้ข้าวชนิดอื่นผสมไปด้วยก็มี ข้าวที่นำมาหมักจะเปลี่ยนเป็นน้ำตาลและแอลกอฮอล์ รวมทั้งเกิดแก๊ส co2 ทำให้มีสี กลิ่น รสชาติ ใหม่ขึ้นมา ฉะนั้นในเบียร์จึงมีคุณค่าของอาหาร คือ มีคาร์โบไฮเดรตโปรตีน วิตามินต่างๆ
2.น้ำเป็นส่วนประกอบสำคัญประมาณ 90% ขึ้นไป มีเกลือแร่ต่างๆด้วย จึงทำให้เบียร์มีรสชาติต่างกันไป
3. ดอกฮอพ เป็นดอกไม้เลื้อยสีเขียวที่ให้เกิดกลิ่นรสขม และช่วยย่อยอาหารยีสต์ เป็นอินทรียสารที่เปลี่ยนแปลงเป็นน้ำตาลและในขณะเดียวกันก็ทำให้เกิดแอลกอฮอล์และแก๊ส co2 จึงเป็นผลให้ผู้ที่ดื่มมีอาการมึนเมา
3.2 ขั้นตอนการผลิตเบียร์มี 4 ขั้นตอน
1. การบดให้เป็นแป้ง (Mashing)
นำข้าวบาร์เลย์ที่เพาะและอบทำเป็นมอลต์แล้วมาบดให้ละเอียด นำไปใส่ถังและเติมน้ำลงไป ใช้ความร้อนต่ำๆ1-6 ชั่วโมงในขั้นตอนนี้จะเกิดการเปลี่ยนแป้งเป็นน้ำตาล และจะตกตะกอน จากนั้นจึงกรองเอาแต่ของเหลวที่เรียกว่า wort ออกไปอีกถังหนึ่ง
2.) ถังต้มเบียร์ (Brewing)
ของเหลวที่ได้นี้จะนำมาต้มกับดอกฮอพเพื่อสกัดลดขมออกมา การต้มนี้เพื่อเป็นการฆ่าและขณะเดียวกันจะทำให้เกิดธาตุที่ป้องกันการบูดเสีย เรียกว่า anticeptic element เมื่อต้มได้ที่แล้วจึงกรองเอาดอกฮอพออกและทิ้งของเหลวนั้นยให้เย็น ในขั้นตอนนี้การผลิตเบียร์จะใช้เทคนิคต่างกันไปคือ ลาเกอร์เบียร์จะทิ้งให้เย็นประมาณ 37%-49% เอลจะทิ้งให้เย็นประมาณ 50%-49% แล้วจึงนำไปหมักในถังต่อไป จึงทำให้ลดชาติของเบียร์ทั้งชนิดต่างกัน
3.)การหมัก (Fermenting)
คือการเติมยีสต์ไปเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงน้ำตาลให้กลายเป็นแอกอฮอล์ การหมักทำเป็นลาเกอร์เบียร์จะใช้ยีสต์ใส่บริเวณก้นถังเพื่อทำให้ยีสต์ทำปฏิกริยาจาดด้านล้างเรียกว่า bottom fermentation และใช้เวาล 2-3 วันเท่านั้น ในขณะเกิดการหมักจะเกิดแก๊ส มากมายจึงเก็บแก๊สนี้ไว้เพื่อเติมลงในขวดในขั้นตอนสุดท้าย
4.) การเก็บบ่ม (storing)
หลังจากได้เบียร์ตามดีกรีที่ต้องการแล้ว จึงถ่ายมายังถังเพื่อเก็บบ่มเบียรให้สุกและเพื่อให้มีรสชาติกลมกล่อม ช่วงนี้จะทำให้เกิดการตกตะกอนเพื่อให้เบียรใสโดยใช้อุณหภูมิต่ำเกือบถึงจุดเยือกแข็งและสามารถเก็บไว้ได้นาน ก่อนที่จะนำไปบรรจุขวด การเก็บบ่มนี้จะใช้ถังสเตลนเลสตามปกติเพื่อให้กลิ่นที่ดี หลังจากการบ่มแล้ว เบียร์จะถูกนำมากรอง
แล้วจึงนำไปบรรจุใส่ถังเพื่อทำเป็นเบียร์สด
สำหรับเบียรขวด bottled beer และเบียร์กระป่อง conned beer จะมีขั้นตอนเพิ่มเติมคือ การทำให้มีกลิ่นรสคงที่ไม่เปลี่ยนแปลงโดยการฆ่าเชื้อ pasteurize ด้วยความร้อน อุณหภูมิ 140-150เป็นเวลา 20-60 นาทีเพื่อฆ่าเชื้อแบททีเรียและยีสต์ที่เหลือ
เบียร์สด draft beer นิยมบรรจุในถังอะลูมิเนียม เพื่อป้องกันแรงอัดที่เพิ่มขึ้นขณะติดตั้งเนื่องจากต้องติดตั้งแก๊ส เข้าไปเพื่อต้องการจำหน่าย
4.การเก็บและรักษาเบียร์
*เบียร์ขวดหรือเบียร์บรรจุกระป๋อง
เบียร์ขวดหรือกระป๋องถึงแม้ว่าจะผ่านการฆ่าเชื้อแล้วก็ตาม จะไม่สามารถเก็บไว้ได้นานนักหากเก็บไว้นานจะทำให้กลิ่นและรสน้อยลง การเก็บเบียร์จะต้องเก็บไว้ในที่เย็นเพื่อนำมาใช้ได้ทันที ควรรีบจำหน่ายให้หมดภายในเวลา 3-4 เดือนหลังจากวันที่ผลิตจากโรงงาน ฉะนั้น เพื่อป้องกันการเก็บไว้ให้ได้นานเกินควรทางโรงงานจึงประทับวันที่ผลิตบนกล่องไว้เป็นที่สังเกต หรืออาจจะเป็นโค้ด ที่ฉลากก็มีฉะนั้นข้อควรระวังคือ การซื้อและการจำหน่ายเบียร์ที่ผลิตก่อนออกไปก่อนอุณหภูมิในการเก็บที่ดีคือระหว่าง 40-70 หรือ 4.5-21c หรือในตู้เย็นหากอุณภูมิเกินกว่า 70F หรือมากกว่า 21 C จะทำให้กลิ่นและรสน้อยลง
อีกประการหนึ่งควรเก็บให้ห่างแสงแดดเพราะจะทำให้เบียร์เสื่อมคุณภาพลงเหตุนี้เบียร์จึงบรรจุขวดสีน้ำตาลหรือสีเขียว หากเก้บไว้นานเกินไปจนเบียร์เป็นวุ้น Freeze จะทำให้เบียร์ตกตะกอนและเป็นเกล็ดน้ำแข็ง เมื่อเปิดออกมาจะไหลพุ่งอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากอุณหภูมิเปลี่ยนแปลงมากเกินไปและบ่อยๆ เบียร์จะขาวขุ่นและเสียได้
หลังจากได้เบียร์ตามดีกรีที่ต้องการแล้ว จึงถ่ายมายังถังเพื่อเก็บบ่มเบียรให้สุกและเพื่อให้มีรสชาติกลมกล่อม ช่วงนี้จะทำให้เกิดการตกตะกอนเพื่อให้เบียรใสโดยใช้อุณหภูมิต่ำเกือบถึงจุดเยือกแข็งและสามารถเก็บไว้ได้นาน ก่อนที่จะนำไปบรรจุขวด การเก็บบ่มนี้จะใช้ถังสเตลนเลสตามปกติเพื่อให้กลิ่นที่ดี หลังจากการบ่มแล้ว เบียร์จะถูกนำมากรอง
แล้วจึงนำไปบรรจุใส่ถังเพื่อทำเป็นเบียร์สด
สำหรับเบียรขวด bottled beer และเบียร์กระป่อง conned beer จะมีขั้นตอนเพิ่มเติมคือ การทำให้มีกลิ่นรสคงที่ไม่เปลี่ยนแปลงโดยการฆ่าเชื้อ pasteurize ด้วยความร้อน อุณหภูมิ 140-150เป็นเวลา 20-60 นาทีเพื่อฆ่าเชื้อแบททีเรียและยีสต์ที่เหลือ
เบียร์สด draft beer นิยมบรรจุในถังอะลูมิเนียม เพื่อป้องกันแรงอัดที่เพิ่มขึ้นขณะติดตั้งเนื่องจากต้องติดตั้งแก๊ส เข้าไปเพื่อต้องการจำหน่าย
4.การเก็บและรักษาเบียร์
*เบียร์ขวดหรือเบียร์บรรจุกระป๋อง
เบียร์ขวดหรือกระป๋องถึงแม้ว่าจะผ่านการฆ่าเชื้อแล้วก็ตาม จะไม่สามารถเก็บไว้ได้นานนักหากเก็บไว้นานจะทำให้กลิ่นและรสน้อยลง การเก็บเบียร์จะต้องเก็บไว้ในที่เย็นเพื่อนำมาใช้ได้ทันที ควรรีบจำหน่ายให้หมดภายในเวลา 3-4 เดือนหลังจากวันที่ผลิตจากโรงงาน ฉะนั้น เพื่อป้องกันการเก็บไว้ให้ได้นานเกินควรทางโรงงานจึงประทับวันที่ผลิตบนกล่องไว้เป็นที่สังเกต หรืออาจจะเป็นโค้ด ที่ฉลากก็มีฉะนั้นข้อควรระวังคือ การซื้อและการจำหน่ายเบียร์ที่ผลิตก่อนออกไปก่อนอุณหภูมิในการเก็บที่ดีคือระหว่าง 40-70 หรือ 4.5-21c หรือในตู้เย็นหากอุณภูมิเกินกว่า 70F หรือมากกว่า 21 C จะทำให้กลิ่นและรสน้อยลง
อีกประการหนึ่งควรเก็บให้ห่างแสงแดดเพราะจะทำให้เบียร์เสื่อมคุณภาพลงเหตุนี้เบียร์จึงบรรจุขวดสีน้ำตาลหรือสีเขียว หากเก้บไว้นานเกินไปจนเบียร์เป็นวุ้น Freeze จะทำให้เบียร์ตกตะกอนและเป็นเกล็ดน้ำแข็ง เมื่อเปิดออกมาจะไหลพุ่งอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากอุณหภูมิเปลี่ยนแปลงมากเกินไปและบ่อยๆ เบียร์จะขาวขุ่นและเสียได้
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)